O3 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการปฏิบัติตามกฎหมาย

แนวปฏิบัติในการจับหรือค้น คลิกที่นี่

มาตรการป้องกันการแทรกแซง การใช้ดุลยพินิจ คลิกที่นี่

แนวปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจไม่รับคำร้องทุกข์ในคดีอาญา คลิกที่นี่

แนวปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจไม่รับคำร้องทุกข์ในคดีอาญา(เพิ่มเติม)

แนวปฏิบัติในการสอบปากคำของพนักงานสอบสวน คลิกที่นี่

สิทธิของผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมและสิทธิผู้ต้องหา คลิกที่นี่

สิทธิ์ผู้เสียหาย

ผู้เสียหายมีสิทธิอะไรบ้าง 

• สิทธิร้องทุกข์และถอนคำร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ
• สิทธิในการฟ้องคดีอาญาและถอนฟ้องคดีอาญา
• สิทธิในการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
• สิทธิในการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ
• สิทธิที่จะยื่นคำร้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการ
เป็นโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
• สิทธิคัดค้านการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา หรือจำเลยในกรณีที่ศาลรับฟ้องแล้ว
• สิทธิที่จะไม่ต้องตอบคำถามโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายในฐานะพยานถูกฟ้องคดีอาญา
• สิทธิในการรับรู้ความคืบหน้าของคดีและผลของคำพิพากษา
• สิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นและข้อกังวลใจต่อศาล
• สิทธิขอให้ศาลตั้งทนายความให้
• สิทธิขอให้จัดให้มีการยืนยันหรือชี้ตัวผู้กระทำผิดในสถานที่
ที่เหมาะสมและมิให้ผู้เสียหายถูกมองเห็น
• สิทธิในการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยและประนอม ข้อพิพาทเพื่อเยียวยาค่าเสียหาย
• อื่น ๆ

สิทธิของผู้ต้องหา

 ผู้ต้องหา หมายถึง บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล (ป.วิ.อาญา มาตรา ๒ (๒)) ซึ่งผู้ต้องหาอาจเป็นผู้ที่ยังไม่ถูกจับกุมก็ได้ เมื่อผู้ต้องหาถูกจับกุมในเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา โดยส่วนใหญ่พนักงานสอบสวนมักไม่ค่อยที่จะแจ้งสิทธิให้แก่ผู้ต้องหาให้ทราบ แต่จะทำลงในรายงานการสอบปากคำว่าได้มีการแจ้งสิทธิแล้วและให้ผู้ต้องหาเซ็นรับทราบ กรณีแบบนี้ถือว่าเป็นการการกระทำที่มิชอบตามกกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านที่ไม่รู้กฎหมายก็จะถูกพนักงานสอบสวนกระทำเช่นนี้ ทำให้บางท่านบางรายถึงกับต้องติดคุกติดตารางหรือแพ้คดีไป ยกตัวอย่างเช่น คดีที่กำลังเป็นข่าวดัง คือ คดีที่คุณตา-คุณยาย เข้าไปเก็บเห็ดในเขตป่าสงวน แต่พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งสิทธิให้ทราบ

ผู้ต้องหามีสิทธิดังนี้

            ๑. สิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก (ป.วิ.อาญา มาตรา ๗/๑)

            ๒. สิทธิที่จะพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง

            ๓. สิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติตามสมควร

            ๔. สิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

            ๕. สิทธิได้รับการแจ้งจากเจ้าพนักงานผู้จับว่าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิตามข้อ ๑ ถึง ๔

            ๖. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนโดยเร็ว และได้รับทราบการแจ้งสิทธิต่างๆ จากพนักงานสอบสวน (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔)

            ๗. สิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของผู้ต้องหา (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔/๓)

            ๘. สิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔/๔)

            ๙. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับขู่เข็ญ ล่อลวง ให้สัญญาเพื่อให้การ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๕)

            ๑๐. สิทธิของผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชนที่จะได้รับการสอบสวนคดีบางประเภทโดยมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานอัยการและทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวน (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔/๒)

            ๑๑. สิทธิที่จะได้รับการประกันตัว (ป.วิ.อาญา มาตรา ๘๔/๑, ๑๐๖)

            ๑๒. สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวหากมีการควบคุมตัวโดยมิชอบ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๙๐)

            ๑๓. สิทธิได้รับการจัดหาทนายกรณีคดีมีอัตราโทษประหารชีวิต หรือผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปี และในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกหากผู้ต้องหาไม่มีทนายและต้องการทนาย พนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายให้ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔/๑)

            ๑๔. สิทธิที่จะได้รับแจ้งถึงพฤติการณ์ และการกระทำที่ถูกกล่าวหา ก่อนการถูกแจ้งข้อกล่าวหา (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔)

            ๑๕. สิทธิได้รับการจัดหาล่าม (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓)

พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย-และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา

ข้อมูลกฎหมายที่มีการบังคับใช้ของสถานีตำรวจ

กฏหมายใหม่ที่ประชาชนควรรู้

กฎหมายในการปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ระเบียบ/คำสั่ง